My Time

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว


          13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจบ้านเมือง และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้าน ทำให้เทศกาลสงกรานต์ จึงถือเป็นโอกาส รวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา และรัฐบาลได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ


ประวัติวันครอบครัว


ครอบครัว



          เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก

          การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว ลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม


บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน

         1. ให้ความรัก ความอบอุ่นและความเอื้ออาทรต่อกัน
         2. หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
         3. ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน
         4. ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
         5. รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด/ไม่ฟุ่มเฟือย
         6. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
         7. ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันเช่น การเข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่นครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์

         หลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ง่าย ๆ สำหรับครอบครัวคือ ใช้หลัก 5 อ.
         1. อ. อภัย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดพลาดไปบ้างให้นึกถึงคำว่าอภัยเสมอ และจะไม่นำเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้นมาพูดซ้ำเติมอีก
         2. อ. เอื้อเฟื้อ สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องของฉันไม่ใช่หน้าที่ของฉัน ฉันไม่เกี่ยวเช่น คุณพ่อซักผ้า แม่ถูบ้าน ลูกล้างจาน อย่าคิดว่าเป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง
         3. อ. อารมณ์ขัน ฝึกให้มีอารมณ์ขันเสียบ้าง มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างในบางโอกาสอาจเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ เพื่อนและพี่สำหรับลูกก็ได้
         4. อ. อดทน อดกลั้น อดออม ชีวิตครอบครัวที่จะต้องมี 3 อ นี้ด้วย อดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ในครอบครัวอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือกิเลสที่มากระตุ้นเราให้หลุ่มหลง และให้รู้จักอดออมเงินทองที่หามาได้แบ่งไว้ใช้เป็นสัดส่วน ส่วนที่หนึ่ง ใช้จ่ายในครอบครัวส่วนที่สองสำหรับการศึกษาของบุตร สวนที่สามสำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บไข้ ส่วนที่สี่บริจาคทานทำบุญสร้างกุศลไว้เป็นเสบียง เมื่อยามจะจากโลก นี้ไป แล้วอีกส่วนหนึ่ง เก็บออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า
         5. อ. อบอุ่น เมื่อเราปฏิบัติได้ 4 อ. ข้างต้นแล้ว อ.ที่ 5 ก็จะตามมาอย่างแน่นอน คือ อบอุ่น เมื่อสมาชิก ทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเองแล้ว ชีวิตครอบครัวก็คงหนีไม่พ้นคำว่า “สุขภาพจิตเริ่มต้นที่บ้าน” ดังคำขวัญที่ว่าไว้อย่างแน่นอน
         จากหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะการเสียสละเวลาแก่ครอบครัวเพื่อสร้างความสุขความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในบ้าน เพราะการได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากเท่าใดทุกคนในครอบครัวจะมีโอกาสได้พูดคุยอบรมสั่งสอน รับฟังความคิดเห็น ให้ความช่วยเหลือหรือมีคำแนะนำที่ดีให้แก่กัน สร้างความผูกพัน ความรักใคร่สามัคคีและที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน เมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต วันครอบครัว จึงถือเป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเพราะเป็นวันที่รวมความหมายของความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อมอบแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในวันครอบครัวเท่านั้น แต่หมายถึงทุกวันที่มีโอกาสด้วย



                                         

 ขอขอบคุณแหล่งที่มา
http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/14-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html

และแหล่งที่มาจาก
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7